หน้าที่ความรับผิดชอบและสิ่งที่ควรปฏิบัติในการบริการแรงงานสังคม
- Publication Date:
- Last updated:2025-01-20
- View count:1216
หน้าที่ความรับผิดชอบและสิ่งที่ควรปฏิบัติในการบริการแรงงานสังคม
การบริการแรงงานสังคมเป็นการลงโทษสถานเบา แต่ก็เป็นการดำเนินโทษเช่นกัน ผู้ให้บริการแรงงานสังคมเลือกใช้สิทธิ์ในการ บริการแรงงานสังคม ก็จะต้องรับภาระที่ขาดผลประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่และการบริการแรงงานสังคม เช่น ใช้แรงงานร่างกาย เสียสละเวลา การดำรงชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ฯลฯ การปฏิบัติการบริการแรงงานสังคมต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่าง สำนักงานอัยการ หน่วยงาน(องค์กร)ปฏิบัติงานบริการแรงงานสังคมและผู้ให้บริการแรงงานสังคม รวม 3 ฝ่าย ผู้ให้บริการแรงงาน สังคมเลือกที่จะให้บริการแรงงานสังคมแล้ว จะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองเลือก
ข้อควรระวังและปฏิบัติเมื่อให้บริการแรงงานสังคม
1.การบริการแรงงานสังคมควรไปรายงานตัวที่หน่วยงาน(สถาบัน) ที่กำหนด ตามวันและสถานที่ที่ผู้คุมความประพฤติกำหนด
2.การบริการแรงงานสังคมควรปฏิบัติตามคำสั่งของผู้สั่งการบริการแรงงาน และต้องปฏิบัติให้ครบชั่วโมงที่กำหนดภายใน ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน กรณีที่ไม่ปฏิบัติงานให้บริการแรงงานสังคมโดยไม่มีเหตุผลเพียงพอ หากเหตุการณ์รุนแรง หรือ ครบกำหนดปฏิบัติงานแล้ว แต่ยังปฏิบัติงานไม่ครบจำนวนชั่วโมงที่กำหนด จะถูกเพิกถอนการบริการแรงงานสังคม นอกเหนือจากคดีค่าปรับที่สามารถชำระค่าปรับได้ภายในครั้งเดียวหรือคดีที่ชำระค่าปรับแทนการจำคุก สามารถเรียกร้องสิทธิ์ชำระค่าปรับแทนการจำคุกภายในครั้งเดียวแล้ว ดำเนินการกักกันหรือทาสอาญาตามประกาศเดิม
3.บุคคลที่มีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ ถือเสมือนว่า「ไม่ปฏิบัติงานให้บริการแรงงานสังคมโดยไม่มีเหตุผลเพียงพอ」หากเหตุการณ์รุนแรง จะถูกเพิกถอนการบริการแรงงานสังคม
lหลังจากที่ผู้คุมความประพฤติหรือองค์กรที่ต้องไปบริการแรงงานแจ้งให้ไปรายงานตัวเกิน 3 ครั้งขึ้นไปแล้ว ยังไม่ไปรายงานตัว
lไปสายหรือเลิกก่อนเวลา จะถือว่าไม่ได้ไปบริการแรงงานในวันดังกล่าว สะสมครบ 3 ครั้งขึ้นไป ยกเว้นกรณีที่ มีเหตุผลเพียงพอควรยื่นหลักฐานเพื่อลางาน หลังจากหน่วยงานอัยกายและหน่วยงาน(องค์กร)ที่ไปบริการอนุมัติให้ลา
lปฏิเสธงานที่ได้รับมอบหมาย หรือเกียจคร้านไม่สามารถปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ สะสมครบ 3 ครั้ง ขึ้นไป
lมีกลิ่นสุราติดตัวไปทำงาน ตักเตือนแล้วไม่ปรับปรุงแก้ไข หรือส่งผลกระทบต่องานหรือการปกครองขององค์กร บริการแรงงานเนื่องจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอื่นสะสมครบ 3 ครั้งขึ้นไป
lใช้วาจาดูถูกเหยียดหยาม ยั่วโทสะหรือใช้กำลังทำร้ายองค์กรบริการแรงงาน ผู้คุมหรือผู้ให้บริการแรงงานท่านอื่น
lตรวจสอบแล้วพบว่ามีการปลอมตัวสวมรอยหรือแก้ไขจำนวนชั่วโมงบริการแรงงาน
lแสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่สมัครใจจะให้บริการแรงงาน
4.ช่วงเวลาที่ปฏิบัติงานบริการแรงงานสังคม ผู้บริการแรงงานต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าประกันภัยที่อยู่นอกเหนือจาก ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง อาหาร ความปลอดภัยและประกันอุบัติเหตุ หากเป็นเหตุให้องค์กรที่ปฏิบัติงาน ได้รับความเสียหาย ควรรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายด้วยตนเอง
5.เวลาที่ไปให้บริการแรงงานสังคม ห้ามพาบุคคลอื่นไปด้วย หรือให้บุคคลอื่นไปร่วมใช้บริการแรงงานสังคม
6.ช่วงเวลาที่ให้บริการแรงงานสังคม จะดำเนินการเปลี่ยนองค์กรที่ให้บริการโดยไม่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานอัยการไม่ได้
7.กรณีที่ผู้ให้บริการแรงงานสังคมกรอก「ข้อมูลส่วนตัวในใบคำร้องให้บริการแรงงานสัง」เท็จ หรือไม่สำแดงผลการตรวจ สุขภาพ ทำให้ยากต่อการตัดสินว่า「มีความยากลำบากต่อการให้บริการแรงงานสังคม เนื่องจากปัญหาสุขภาพร่างกาย」 หรือไม่ จึงควรรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดจากการบริการแรงงานสังคมด้วยตนเอง